คู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน

 

คู่มือปฏิบัติ
เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน

 


 

การเจ็บป่วยฉุกเฉิน คืออะไร ?

                    การได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ที่มีผลต่อชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับ
          การตรวจและรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรืออาการเจ็บป่วยบาดเจ็บรุนแรงขึ้น

 

 

          โดยลักษณะอาการฉุกเฉินที่ควรแจ้งโทร 1669 คือ

          1. หมดสติช๊อคสะลึมสะลือเรียกไม่รู้สึกตัว

          2. เจ็บหน้าอกหายใจเหนื่อย

          3. สิ่งแปลกปลอดอุดกั้นทางเดินหายใจ

          4. ปากเบี้ยวแขนขาอ่อนแรง

          5. ชักเกร็งกระตุก

          6. ปวดท้องรุนแรง

          7. ตกเลือดเลือดออกทางช่องคลอด

          8. เจ็บท้องคลอด คลอดฉุกเฉิน

          9. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเช่นรถชน จมน้ำ ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ สัตว์มีพิษกัดต่อย

 


ขั้นตอนการแจ้งเหตุ 1669


          ขั้นตอนการแจ้งเหตุ 1669 

          1. กดเบอร์ 1669 รายงานเหตุ

          2. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ

          3. พาหนะฉุกเฉินออกปฏิบัติการ

          4. ดูแลรักษาขณะนำส่ง

          5. นำส่งโรงพยาบาล




           การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

          กรณีบาดแผลฉีกขาด

          1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดของผู้ป่วยโดยตรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

          2. ทำการห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผลไว้

          3. สังเกตการเสียเลือดถ้าเลือดออกไม่หยุดให้ใช้ผ้ายือพัน

          4. กรณีเป็นแผลที่แขน ขา และ ไม่มีกระดูกหักให้ยกส่วนนั้นให้สูง




          การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

         กรณีบาดแผลอวัยวะถูกตัดขาด

          1.  เก็บอวัยวะที่ขาดใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น

          2. แช่ในภาชนะที่มีนํ้าผสม นํ้าแข็ง อีกชั้น

          3. ห้ามเลือดบริเวณปลายอวัยวะที่ถูกตัดขาด

          4. ห้ามแช่ลงไปในนํ้าแข็งโดยตรง           

           

           กรณีบาดแผลเกิดจากไฟไหม้นํ้าร้อนลวก

          1. ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ถูกเผาไหม้ออก ถ้าไหม้ติดกับผิวหนัง เมื่อถอดอาจมีการดึงรั้งควรตัดเสื้อผ้าในส่วนนั้นออก

          2. ใช้นํ้าสะอาดล้างแผลเพื่อทำความสะอาดลดอาการแสบร้อน

          3. ห้ามใช้โลชั่น ยาสีฟันยาปฎิชีวนะทาบนแผลเพราะปิดกั้นการระบายและห้ามเจาะตุ่มพอง




           การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

          กรณีแผลฉีกขาดกระดูกหนัก

          1.  กรณีไม่มีบาดแผล ประคบด้วยนํ้าแข็ง บริเวณที่ปวดบวมผิดรูป เพื่อลดอาการตามกระดูกยืดตรึงส่วนที่หักให้อยู่นิ่งมากที่สุด

          2. กรณีกระดูกหักแผลเปิดและกระดูกโผล่ ห้ามดันกระดูกกลับเข้าที่เด็ดขาดห้ามเลือดตามขั้นตอน


          กรณีภาวะช็อก

          1. ภาวะช็อกอาจเกิดจากการเสียเลือดมาก มีอาการ เช่น ซึม ซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบา หายใจเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน กระหายนํ้า

          2. จัดให้นอนในที่ราบ ยกขาสูง ห่มผ้าให้อุ่น คลายเสื้อผ้าให้หลวม ห้ามใช้อาหารหรือนํ้า จนกว่าทีมช่วยเหลือจะมาถึง




          กรณีเกิดอุบัติเหตุรุนแรง หรือตกจากที่สูง

          1. อุบัติเหตุรุนแรง

          2. ตกจากที่สูง

          อาจมีการหักของช่วงกระดูกสันหลังได้ ไม่ควรยกหรือเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ





          กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยหอบหืด

          1. นั่งให้สบายให้ผู้ป่วยนั่งในท่าที่สบายคลายเสื้อผ้าให้หลวม

          2. อาการถ่ายเทพาไปยังที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก

          3. ใช้ยาพ่นถ้าผู้ป่วยมียาพ่นให้ใช้ยาที่มีอยู่

          4. โทรแจ้ง 1699 หากอาการไม่ดีขึ้นรีบโทรแจ้ง 1699





          ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 

          1. มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหมือนมีอะไรทับหรือบีบรัดนานกว่า 20 นาที

          2. อาจร้าวไปที่ใบหน้า ปวดกรามร้าวมาถึงสะดือ ปวดจุกแน่นลิ้นปี่ ลามไปที่แขน ไหล่จนถึงปลายนิ้ว

          3. มีอาการของระบบประสาท เช่น หายใจเหนื่อยนอนนาบไม่ได้เหงื่อออก ใจสั่น คลื้นไส้ อาเจียน หน้ามืด หมดสติ

          4. เบื้องต้นให้นอนพักลดการเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็นและโทรแจ้ง 1669

          5. สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดถ้าพบว่าหมดสติหยุดหายใจให้กดนวดหัวใจตามวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและโทรแจ้ง 1669






          ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ/ตัน

          1. มีอาการอ่อนแรง ชาบริเวณใบหน้า แขน ขา อ่อนแรง หรือชาครึ่งชีกของร่างกาย การพูดผิดปกติ เช่น ลิ้นคับปาก พูดไม่ชัด

             อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด รีบโทรแจ้ง 1669 โดยด่วน

          2. ดูการตอบสนอง เรียกผู้ป่วย ดูว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือมีการตอบสนองหรือไม่

          3. ความรู้สึกตัวลดลงหรือไม่รู้สึกตัวให้นอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก

          4. นําตัวส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดภายใน 4 ชั่วโมง





          ผู้ป่วยชัก

          1. วางผู้ป่วยนอนบนพื้นเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งรอบข้าง

          2. ห้ามกดลิ้น งัดปาก หรือยึดตรึงผู้ป่วยขณะชักอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ 

          3. หลังจากหยุดชักดูแลทางดินหายใจจัดให้นอนตะแคงกึ่งควํ่า




 

 


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,138,400