กิจการที่ไม่มีจป.มีสิทธิ์ติดคุก

 

เตือนนายจ้าง! 

กิจการที่ไม่มีจป. มีสิทธิ์ติดคุก



หมวด ๘
บทกำหนดโทษ

มาตรา ๕๓ นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง
 ที่ออกตามมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา ๘ ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน
          ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง
การกําหนดมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดทําเอกสารหรือรายงานใด
          โดยมีการตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคล หรือนิติบุคคลตามที่กําหนดในกฎกระทรวงให้ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
          ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในวรรคหนึ่ง

 

 

 

มาตรา ๕๖ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๓๒
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา ๑๓ ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคล
          เพื่อดําเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
          เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานและบุคลากรตามวรรคหนึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
          ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๙ วรรคสอง และมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับกับการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
          โดยอนุโลม

                    มาตรา ๑๖ ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย
          และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน
          การทํางานได้อย่างปลอดภัยในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร
          หรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้าง
          ทุกคนก่อนการเริ่มทํางานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

 

มาตรา ๕๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ หรือ
มาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

                    มาตรา ๑๔ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมในการทํางานที่อาจทําให้
          ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
          จากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน

 

                    มาตรา ๓๔ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทํางาน
          ให้นายจ้างดําเนินการดังต่อไปนี้
                    (๑) กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบโดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใด

          ที่มีรายละเอียดพอสมควร และให้แจ้งรายละเอียดและสาเหตุเป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต

                    (๒) กรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดการผลิต หรือมีบุคคลในสถานประกอบกิจการ
          ประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากเพลิงไหม้ การระเบิดสารเคมีรั่วไหล หรืออุบตัิภัยร้ายแรงอื่น ให้นายจ้าง
          แจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบโดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใด และให้แจ้งเป็นหนังสือโดยระบุสาเหตุ
          อันตรายที่เกิดขึ้นความเสียหาย การแก้ไขและวิธีการป้องกันการเกิดซ้ําอีกภายในเจ็ดวันนับแต่วันเกิดเหตุ

                    (๓) กรณีที่มีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน เมื่อนายจ้างแจ้งการประสบอันตราย
          หรือเจ็บป่วยต่อสํานักงานประกันสังคมตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ให้นายจ้างส่งสําเนาหนังสือแจ้งนั้นต่อพนักงานตรวจ
          ความปลอดภัยภายในเจ็ดวันด้วยการแจ้งเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดและเมื่อพนักงาน
          ตรวจความปลอดภัยได้รับแจ้งแล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบและหามาตรการป้องกันอันตรายโดยเร็ว

 

 

 

มาตรา ๕๘ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ หรือ
มาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา ๑๕ ในกรณีที่นายจ้างได้รับคําเตือน คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยของอธิบดี คําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย
          หรือคําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้นายจ้างแจ้งหรือปิดประกาศคําเตือน คําสั่ง หรือคําวินิจฉัย
          ดังกล่าวในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

                    มาตรา ๑๗ ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย          
          และสภาพแวดล้อมในการทํางาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกําหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย
          ณ สถานประกอบกิจการ

 

 

มาตรา ๕๙ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา ๑๘ ในกรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ให้นายจ้างทุกรายของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น
          มีหน้าที่ร่วมกันดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
                    ลูกจ้างซึ่งทํางานในสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งลูกจ้างซึ่งทํางานในสถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้าง
          ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานซึ่งใช้ในสถานประกอบกิจการนั้นด้วย

 

 

มาตรา ๖๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙
ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินห้าหมื่นบาท

                    มาตรา ๓๙ ระหว่างหยุดการทํางานหรือหยุดกระบวนการผลิตตามมาตรา ๓๖ ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
          กับการหยุดการทํางานหรือการหยุดกระบวนการผลิตนั้นเท่ากับค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ลูกจ้างต้องได้รับ เว้นแต่ลูกจ้าง
          รายนั้นจงใจกระทําการอันเป็นเหตุให้มีการหยุดการทํางานหรือหยุดกระบวนการผลิต

 

 

มาตรา ๖๘ นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๒
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา ๔๒ ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างดําเนินการฟ้องร้อง
          หรือเป็นพยานหรือให้หลักฐานหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานต่อพนักงาน
          ตรวจความปลอดภัย หรือคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัตินี้หรือต่อศาล

 

 

Visitors: 1,137,979