การป้องกัน COVID-19 ในโรงงานที่ จป.ต้องรู้

 

 

คำแนะนำด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการระบาด

 

ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)สำหรับสถานประกอบกิจการหรือโรงงาน

  


สถานประกอบกิจการหรือโรงงาน เป็นสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของผู้ปฏิบัติงานเพื่อผลิตสินค้าและ

บริการ ซึ่งจะมีการใช้สถานที่ เครื่องใช้อุปกรณ์ต่างๆ และการสัมผัสสิ่งของร่วมกัน จึงอาจก่อให้เกิด 

การแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ ทั้งจากการสัมผัสระหว่างบุคคล หรือจากการสัมผัสสิ่งของ เครื่องใช้อุปกรณ์

สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากกระบวนการผลิต กรมอนามัย จึงมีคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ และผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้

 

1. แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ


โควิด19 ; การป้องกันโควิด19ในโรงงาน ; การป้องกันโควิด19ในโรงงานที่ จป.ต้องรู้ ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงาน ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงานจป.ต้องรู้ ; จป ต้องรู้ ; จป.ควรรู้ 

 

          ข้อที่ 1) กำหนดเส้นทางเข้า-ออกให้ชัดเจน ให้มีการลงทะเบียนบุคคลภายนอกทุกคน ที่จะเข้าสถานประกอบกิจการ และมีการคัดกรองผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อ หากพบว่ามีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยง ผู้ประกอบกิจการพิจารณาให้หยุดปฏิบัติงานและแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที


 

โควิด19 ; การป้องกันโควิด19ในโรงงาน ; การป้องกันโควิด19ในโรงงานที่ จป.ต้องรู้ ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงาน ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงานจป.ต้องรู้ ; จป ต้องรู้ ; จป.ควรรู้


          ข้อที่ 2)  ให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และอาจจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันตนเองเพิ่มเติม สำหรับผู้ปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือ แผ่นใสครอบหน้า (Face shield) เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำ



โควิด19 ; การป้องกันโควิด19ในโรงงาน ; การป้องกันโควิด19ในโรงงานที่ จป.ต้องรู้ ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงาน ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงานจป.ต้องรู้ ; จป ต้องรู้ ; จป.ควรรู้



          ข้อที่ 3) จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการในบริเวณต่างๆ เช่น ทางเข้าออก หน้าลิฟต์ ห้องอาหาร ห้องส้วม สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อ
อย่างเพียงพอ





          ข้อที่ 4) มีมาตรการควบคุมจำนวนผู้ปฏิบัติงานมิให้แออัด โดยลดการรวมกลุ่มระหว่างบุคคล เช่น หลีกเลี่ยงการจัดประชุมที่มีผู้ร่วมประชุมจำนวนมากโดยการใช้เทคโนโลยี
ในการสื่อสาร การอนุญาตให้ทำงาน
ที่บ้าน กรณีงานสามารถทำที่บ้านได้จัดเวลาทำงาน เวลาพัก และเวลารับประทานอาหารให้เหลื่อมกัน



          ข้อที่ 5) จัดให้ผู้ปฏิบัติงานมีระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย ๑ เมตร โดยมีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน ทั้งในบริเวณพื้นที่ผลิต บริเวณสำนักงาน จุดนั่งพัก 

จุดรับประทานอาหาร สถานที่พักผ่อน สำหรับบริเวณที่ไม่สามารถรักษาระยะห่างได้อาจใช้แผ่นพลาสติกกั้น ปรับสายการผลิต ปรับที่นั่งไม่ให้เผชิญหน้าโดยตรง กำหนดผังพื้นที่กำหนดบริเวณที่จำกัดผู้ปฏิบัติงานเท่าที่จำเป็น




          ข้อที่ 6) ให้ทำความสะอาดพื้นที่ บริเวณพื้นผิว และอุปกรณ์ที่มีการสัมผัสร่วมกัน ดังนี้

          - พื้นที่โดยรอบ พื้นผิวสัมผัส เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆในพื้นที่ส่วนกลาง ทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดและอาจฆ่าเชื้อบริเวณที่มีคนใช้ร่วมกันจำนวนมากด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1% หรือแอลกอฮอล์ 70% เช่น โต๊ะ เก้าอี้ราวบันได ลูกบิดประตู ปุ่มกดลิฟต์ เป็นต้น

          - เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต ทำความสะอาดอย่างถูกสุขลักษณะ ทำความสะอาดทุกรอบการปฏิบัติงานด้วยน้ำยาทำความสะอาด ที่ใช้กับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ที่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ (เช่นผลิตอาหาร ต้องใช้คลอรีนเข้มข้นน้อยกว่านี้) หรืออาจฆ่าเชื้อโรคด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1% หรือแอลกอฮอล์ 70% ตามความเหมาะสม

          - บริเวณและภายในห้องส้วม ทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยน้ำยาทำความสะอาด และอาจฆ่าเชื้อโรคด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1% หรือแอลกอฮอล์ 70% บริเวณจุดเสี่ยง ได้แก่ กลอนหรือลูกบิดประตู ก๊อกน้ำอ่างล้างมือ ที่รองนั่ง โถส้วม ที่กดโถส้วมหรือโถปัสสาวะ สายฉีดน้ำชำระ และพื้นห้องส้วม ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีสบู่สำหรับล้างมืออย่างเพียงพอ



 


          ข้อที่ 7) จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยประเภทต่าง ๆ ที่สะอาด สภาพดี และมีฝาปิด พร้อมติดป้ายแสดงขยะมูลฝอยแต่ละประเภทให้ชัดเจน กำหนดให้มีจุดรวบรวม เพื่อรอไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป

 




          ข้อที่ 8) จัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม โดยตรวจสอบประสิทธิภาพและทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ กรณีสถานประกอบกิจการมีประตู หน้าต่าง ควรเปิดประตู หน้าต่างเป็นระยะเพื่อให้อากาศถ่ายเท





          ข้อที่ 9) กรณีสถานประกอบการมีบริการรถรับส่งผู้ปฏิบัติงาน ให้ทำความสะอาดยานพาหนะบริเวณที่มีการสัมผัสกับคนจำนวนมากด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1% หรือแอลกอฮอล์ 70% ทุกเที่ยวการเดินทาง เช่น ราวจับ ประตู เบาะนั่ง ทั้งนี้ให้จำกัดจำนวนคนภายในรถไม่ให้แออัด โดยอาจเพิ่มจำนวนรถรับส่งเพื่อรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล



โควิด19 ; การป้องกันโควิด19ในโรงงาน ; การป้องกันโควิด19ในโรงงานที่ จป.ต้องรู้ ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงาน ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงานจป.ต้องรู้ ; จป ต้องรู้ ; จป.ควรรู้



          ข้อที่ 10) กรณีสถานประกอบการมีสถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสาธารณสุขตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับสถานที่จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม



โควิด19 ; การป้องกันโควิด19ในโรงงาน ; การป้องกันโควิด19ในโรงงานที่ จป.ต้องรู้ ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงาน ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงานจป.ต้องรู้ ; จป ต้องรู้ ; จป.ควรรู้



          ข้อที่ 11) กรณีสถานประกอบกิจการมีหอพักสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสาธารณสุขตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับหอพัก



โควิด19 ; การป้องกันโควิด19ในโรงงาน ; การป้องกันโควิด19ในโรงงานที่ จป.ต้องรู้ ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงาน ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงานจป.ต้องรู้ ; จป ต้องรู้ ; จป.ควรรู้



          ข้อที่ 12) ชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติงานทราบขั้นตอน วิธีปฏิบัติในการใช้สถานที่ และให้คำแนะนำสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันและการลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายเชื้อโรค และกำกับดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด



โควิด19 ; การป้องกันโควิด19ในโรงงาน ; การป้องกันโควิด19ในโรงงานที่ จป.ต้องรู้ ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงาน ; การป้องกัน COVID 19 ในโรงงานจป.ต้องรู้ ; จป ต้องรู้ ; จป.ควรรู้



          ข้อที่ 13) มีมาตรการติดตามข้อมูลของผู้ปฏิบัติงาน เช่น การใช้แอพพลิเคชั่นตามที่ทางราชการกำหนดหรือใช้มาตรการควบคุมการเข้าออกสถานที่ด้วยการบันทึกข้อมูล


2. แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
          1) สังเกตอาการของตนเอง หากพบว่า มีอาการไข้ หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ให้หยุดปฏิบัติงาน แจ้งหัวหน้างาน และพบแพทย์ทันที
          2) หลีกเลี่ยงไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ
          3) สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย อุปกรณ์ป้องกันตนเองเพิ่มเติมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือ แผ่นใสครอบหน้า (Face shield) ตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำ
          4) หมั่นล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ หรือหลังจากหยิบจับสิ่งของหรือจุดที่มีการสัมผัสร่วมกัน ก่อนรับประทานอาหาร ภายหลังใช้ส้วม หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และดูแลรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เมื่อกลับถึงบ้านควรอาบน้ำและเปลี่ยน
เสื้อผ้าทันที
          5) ขณะปฏิบัติงานและระหว่างพักควรเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร งดหรือเลี่ยงการพูด ตะโกน โดยเฉพาะการปฏิบัติงานในพื้นที่แคบ หรือมีการระบายอากาศไม่ดี
          6) ไม่ควรรับประทานอาหารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
          7) ไม่ใช้อุปกรณ์หรือสิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ จาน ช้อน ผ้าเช็ดมือ ชุดปฏิบัติงาน เป็นต้น
          8) พนักงานทำความสะอาด พนักงานเก็บรวบรวมขยะต้องป้องกันตนเอง โดยสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ ผ้ากันเปื้อน รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ใช้ที่คีบด้ามยาวเก็บขยะใส่ถุงมัดปากถุงให้มิดชิด นำไปรวบรวมไว้ที่พักขยะ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ และเมื่อปฏิบัติงานเสร็จในแต่ละวัน หากเป็นไปได้ควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
          9) ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบกิจการอย่างเคร่งครัด






Visitors: 1,138,510