4 ขั้นตอนที่ต้องทำเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

การเกิดของไฟ

ไฟเกิดจากการรวมตัวขององค์ประกอบ 3 ประการ ที่รวมตัวกันจนได้สัดส่วน 

1.เชื้อเพลิง (FUEL) คือสิ่งที่ติดไฟและลุกไหม้ได้ 

2.ความร้อน (HEAT) คือ ความร้อนที่เหมาะสมและเพียงพอ สามารถทำอุณหภูมิสูงจนทำให้สารเชื้อเพลิงจุดติดไฟ เช่น สะเก็ดไฟ ลูกไฟจากการเชื่อมเครื่องจักรร้อน ไฟฟ้าช็อต เปลวไฟ บุหรี่ ฟ้าผ่า ฯลฯ 

3.อากาศ (OXYGEN) ในบรรยากาศทั่วไปมีออกซิเจน ประมาณ 21% อยู่แล้ว ซึ่งสามารถทำให้ช่วยติดไฟได้ U ประเภทของไฟ (FIRE CLASSIFICATION) 


ประเภทของถังดับเพลิง

1. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งจะบรรจุในถังสีแดง ภายในจะมีผงเคมีแห้งและก๊าซไนโตรเจน น้ำยาที่ฉีดออกมาจะเป็นฝุ่นละออง สามารถ

ดับเพลิงไหม้ได้ทุกชนิดและมีประสิทธิภาพสูง ไม่อันตรายต่อมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตทุกประเภท เหมาะใช้ใน ที่โล่งแจ้ง บ้าน อาคารใหญ่ๆ โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน 

โดยมีลักษณะ ขนาด ให้เลือกคือ ขนาดตั้งแต่ 5 ปอนด์ , 10 ปอนด์ และ 15 ปอนด์ 


2. ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ หรือ CO2 ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ เป็นถังดับเพลิงชนิด CO2 เป็นถังสีแดง น้ำยาดับเพลิง

เป็นน้ำแข็งแห้ง(Dry Ice) บรรจุในถังแรงดันสูง มีกระบอกหรือกรวยฉีด เวลาฉีดจะมีน้ำยาออกมาเป็นหมอกหิมะ ที่สามารถไล่ความร้อนและออกซิเจน 

ใช้กับไฟชนิด B และ


3. ถังดับเพลิงชนิดน้้ายาเหลวระเหย บีซีเอฟ ฮาลอน1211 ถังดับเพลิงชนิดนี้จะบรรจุในถังสีเหลือง สามารถใช้ดับเพลิงได้ดี เป็นสารเคมี มีความเย็นจัด

และยังมีประสิทธิภาพสามรถ ทำลายออกซิเจนที่ทำให้ติดไฟ โดยไม่ทิ้งคาบสกปรกหลังการดับ สามารถที่จะใช้งานได้หลายครั้ง เหมาะกับสถานที่ที่ใช้ คอมพิวเตอร์ 

อุปกรณ์สื่อสาร ในโรงงานอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เรือ และเครื่องบิน 


4. ถังดับเพลิงชนิด HCFC-123 (Halatron) เป็นถังดับเพลิงที่มีสารดับเพลิงทดแทนสารฮาลอน 1211 ไม่ทำลายชั้นโอโซนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

สามารถใช้ดับเพลิง ไฟชนิด A B และ C เป็นแก๊สระเหยเหลวเมื่อฉีดเสร็จไม่ทิ้งคราบสกปรก สามรถใช้ได้หลายครั้ง เหมาะใช้กับสถานที่ที่ใช้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สื่อสาร ในโรงงานอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เรือ และเครื่องบิน มีหลากหลายขนาดให้เลือก 


5. ถังดับเพลิงชนิด BF 2000 เป็นถังดับเพลงประเภท BF 2000 บรรจุอยู่ในถังสีเขียว เป็นน้ำยาที่เป็นสารละเหย ตัวถังดับเพลิงมีหูหิ้ว สารดับเพลิงไม่ส่งผลกระทบ

ต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ดับไฟประเภท A B C และ E BF 2000 (FE 369) น้ำยาหรือสารดับเพลิงไม่ทำลายสิ่งของ เครื่องใช้ใดๆ และสามรถใช้ดับเพลิงได้หลายครั้ง 

เหมาะใช้กับสถานที่ที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร ในโรงงาน อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เรือ และเครื่องบิน มีหลากหลายขนาดให้เลือก 


6. ถังดับเพลิงชนิดน้้ายาโฟม มีการบรรจุในถังสแตนเลส ซึ่งภายในมีน้ำยาโฟมโดยมีแรงดันสูง มีการยิงโฟมผ่านหัวบัวพ่นออกมาให้เป็นฟองกระจายๆ ใช้ 

กับเพลิงคือจะทำให้เกิดอับอากาศ ไฟขาดออกซิเจนและลดความร้อน สามารถดับไฟชนิด A B เหมาะใช้ส าหรับบ้านพัก อาศัย ปั้มน้ำมัน ร้านขายสี หรืออาจจะใช้

ในการดับไฟที่เกิดจากน้ำมัน ** หมายเหตุ ห้าม !! ใช้น้ำยาโฟมดับเพลิงที่เกิดจากระบบไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะจะเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า



ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

1. ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้ 

          1.1 แจ้งเหตุด้วยสัญญาณเตือนภัย และแจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้คนรอบข้างทราบ 

          1.2 แจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่อหน่วยงานระงับเหตุฉุกเฉินขององค์กร โดยแจ้งข้อมูลสำคัญให้ทราบดังนี้

- ประเภทของเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น เช่น เพลิงไหม้ ระเบิด สารเคมีหกรั่วไหล เป็นต้น 

สถานที่เกิดเหตุฉุกเฉิน โดยระบุอาคารและบริเวณตำแหน่งที่เกิดเพลิงไหม้ให้ชัดเจนเวลาที่เกิดเหตุ 

- สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ (ถ้าทราบสาเหตุ) 

- แจ้งชื่อผู้แจ้งเหตุ สถานที่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้แจ้งเหตุ หรือหมายเลขที่สามารถติดต่อกลับได้ 

- อย่าวางสายโทรศัพท์ก่อนผู้รับแจ้งเหตุ เนื่องจากผู้รับแจ้งเหตุอาจต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

          1.3 หยุดกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักที่อาจก่อให้เกิดอันตราย 

          1.4 ในกรณีเพลิงไหม้เล็กน้อย อาจใช้เครื่องดับเพลิงที่อยู่ใกล้เคียงระงับเหตุเพลิงมาแล้ว 

          1.5 หากไม่สามารถดับเพลิงในเบื้องต้นได้ ให้ปิดประตูและหนีออกจากที่เกิดเหตุทันที 

2. การอพยพหนีไฟ เมื่อได้รับทราบว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ให้อพยพออกจากบริเวณที่เกิดเหตุทันทีและเพื่อความปลอดภัย ควรปฏิบัติดังนี้ 

          2.1 อพยพออกจากที่เกิดเหตุทางบันได ไปตามเส้นทางหนีไฟที่ไปยังทางออกที่ใกล้ที่สุด ห้ามใช้ลิฟต์ 

          2.2 อย่านำสิ่งของขนาดใหญ่ติดตัวไปด้วย ขณะอพยพหนีไฟ 

          2.3 อพยพออกจากที่เกิดเหตุอย่างเป็นระเบียบ อย่าวิ่ง หรือผลักกัน 

          2.4 เมื่ออพยพออกจากที่เกิดเหตุให้ไปยังจุดรวมพล (บริเวณที่ปลอดภัย) ที่กำหนดไว้ อย่ากลับเข้าไปที่เกิดเหตุอีกจนกว่าจะได้รับแจ้งว่าเหตุการณ์สงบ

และเข้าสู่สภาวะปกติ 

3. การระงับเหตุเพลิงไหม้ ผู้ปฏิบัติการระงับเหตุฉุกเฉิน เมื่อได้รับแจ้งเหตุเพลงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้ 

          3.1 เตรียมตัวให้พร้อม รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดับเพลิง และไปยังที่เกิดเหตุ โดยเร็วที่สุด 

          3.2 ตรวจสอบเพื่อให้ทราบประเภทของเพลิงไหม้ และประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของเพลิงไหม้ 

          3.3 ดับเพลิงโดยใช้เครื่องดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมกับประเภทของเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น




4. การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ ในกรณีที่พบผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้ 

4.1 แจ้งหน่วยงานระงับเหตุฉุกเฉินขององค์กรให้ทราบตำแหน่ง และบริเวณที่พบผู้บาดเจ็บ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บสามารถเข้าช่วยเหลือได้โดยเร็ว 

4.2 อย่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยไม่ทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง การช่วยเหลืออย่างไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายต่อผู้บาดเจ็บได้

4.3 อย่าเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ หากไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกและกระดูกสันหลัง

4.4 ทำการปฐมพยาบาลในกรณีที่จำเป็น เช่น สารเคมีเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด เป็นแผลเลือดออก มากให้ใช้ผ้าสะอาดกดที่ปากแผลเพื่อห้ามเลือด เป็นต้น


Visitors: 1,139,405