หลักสูตร : ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
หลักสูตร
ผู้อนุญาติ ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
( รวมทุกหลักสูตร 4 ผู้ )
ตารางอบรมหลักสูตร
ผู้อนุญาติ ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฎิบัติงานในที่อับอากาศ
(รวมทุกหลักสูตร 4 ผู้)
สถานที่อบรม : HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี
โปรโมชั่นราคาพิเศษจากราคาปกติ 8,900 ลดเหลือ 6,500 บาท/ท่าน
(พิเศษสำหรับสมัครสามาชิก TOPPRO MEMBER ลดเหลือ 6,000 บาท/ท่าน)
รุ่นที่ | วันที่จัดอบรม | หลักสูตร | เขตพื้นที่ | บุคคลทั่วไป | สมาชิก | รายละเอียด | ขอใบเสนอราคา | จองอบรม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
8 | อังคาร 6 - ศุกร์ 9 ส.ค. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- | |||
20 | อังคาร 20 - ศุกร์ 23 ส.ค. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- | |||
9 | จันทร์ 9 - พฤหัสฯ 12 ก.ย. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- | |||
21 | จันทร์ 23 - พฤหัสฯ 26 ก.ย. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- | |||
10 | พุธ 2 - เสาร์ 5 ต.ค. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- |
รุ่นที่ | วันที่จัดอบรม | หลักสูตร | เขตพื้นที่ | บุคคลทั่วไป | สมาชิก | รายละเอียด | ขอใบเสนอราคา | จองอบรม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
22 | จันทร์ 28 - พฤหัสฯ 31 ต.ค. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- | |||
11 | จันทร์ 4 - พฤหัสฯ 7 พ.ย. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- | |||
23 | จันทร์ 18 - พฤหัสฯ 21 พ.ย. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- | |||
12 | พุธ 11 - เสาร์ 14 ธ.ค. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- | |||
24 | พุธ 18 - เสาร์ 21 ธ.ค. 2567 | ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4ผู้) | ชลบุรี ( HROD Esie Center (บางแสน) ชลบุรี ) | 6,500.-8,900 | 6,000.- |
หลักสูตรผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ
และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (รวม 4 หลักสูตร)
(Courses for Allowed, Controller, Helpers and Operators
in Confined Spaces (4 courses in total))
หลักการและเหตุผล
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2562 ข้อ 20 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด
โดยประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 หมวด 2 ข้อ 2 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
เนื่องจากการทำงานในที่อับอากาศนับว่าเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และทรัพย์สินเสียหาย ตลอดจนประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงได้รับอันตรายได้ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศทุกตำแหน่งหน้าที่จึงต้องได้รับการฝึกอบรม อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อีกทั้งยังส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ และสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการได้ปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎหมายประกาศกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นายจ้างได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
2. เพื่อให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง ได้รับการฝึกอบรมตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ปี 2564
3. เพื่อให้ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศทุกตำแหน่งหน้าที่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการฝึกปฏิบัติในแต่ละบทบาทหน้าที่ และมีความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม/กลุ่มเป้าหมาย
1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
2. มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
3. ผู้เข้ารับการอบรมต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอัคคีภัย
วิทยากร : วิทยากรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขทะเบียนที่ อ.XX-XXX
วิธีการอบรม : การบรรยาย , Workshop , กิจกรรมกลุ่ม , กิจกรรมสถานการณ์จำลอง
สถานที่อบรม : บริษัทลูกค้า/สถานที่ลูกค้าจัดให้
ระยะเวลา : อบรม 4 วัน (24 ชม.)
สิ่งที่ได้รับหลังการอบรม : วุฒิบัตรผ่านการอบรม
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล : ผลการทดสอบก่อน – หลังการอบรม ระยะเวลาเข้ารับการอบรม 100%
อันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศแบ่งเป็น 4 กลุ่ม
1. การขาดออกซิเจน สาเหตุใหญ่ของการตายในสถานที่อับอากาศ คือ ขาดออกซิเจนในการหายใจนั้นก็ หมายถึง ปริมาณออกซิเจนในสถานที่อับอากาศนั้นน้อยกว่า 19.5 Vol.% หรือมากกว่า 23.5 Vol.% สาเหตุเกิดจากมีการติดไฟ หรือ การระเบิด ไฟจะใช้ออกซิเจนเพื่อการลุกไหม้ การแทนที่ออกซิเจนด้วยก๊าซอื่น เช่น มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน เป็นต้น เกิดการกัดกร่อน หรือ การเกิดสนิม เหล็กใช้ออกซิเจนจากอากาศไปในการเกิดสนิม และ การที่ออกซิเจนถูกใช้ไปในปฏิกิริยาหมัก
2. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ สาเหตุสำคัญของการตายในสถานที่อับอากาศอีกสาเหตุหนึ่งคือ การเกิดไฟ และการระเบิด โดยมีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินกว่าร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit) และมีฝุ่นที่ทำให้ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้มขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (LEL) สิ่งก่อเหตุคือ สารเคมี สี ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม สารทำละลาย หรือวัตถุจากธรรมชาติ สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ ไอหรือก๊าซที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ในสถานที่อับอากาศสามารถเกิดประกายไฟขึ้นได้ จากการกระทำดังนี้ การเกิดไฟฟ้าช็อต การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ป้องกันการเกิดประกายไฟ การขัด การสูบบุหรี่ การเชื่อมโลหะ
3. สารพิษ เป็นอันตรายเมื่อมีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สารพิษหลายชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือได้กลิ่น สามารถทำให้เกิดอันตรายใหญ่ๆ ได้ 2 แบบ ในสถานที่อับอากาศ คือ การระคายเคือง ถึงแม้จะมีสารพิษเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจมีผลกับระบบทางเดินหายใจ หรือระบบประสาทและฆ่าคุณได้ การขาดออกซิเจนจากสารเคมี เมื่อสารเคมีเป็นสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สามารถไปหยุดการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย หรือนำไปสู่ปอด และทำให้ร่างกายของคุณขาดออกซิเจน เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้ ก๊าซพิษที่ทำให้เกิดอันตรายในสถานที่อับอากาศบ่อยๆ คือคาร์บอนมอนนอกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ สามารถทำให้ตายได้ โดยการเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในเลือด ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีกลิ่นเหม็น และมีพิษ แม้จะมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เกิดทำให้หยุดการหายใจ ถ้าเข้าไปในร่างกาย
4. อันตรายทางกายภาพ ส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหว ถ้าอยู่ในสถานที่อับอากาศยิ่งจะมีอันตรายมากคือ ส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวจะต้องถูกล็อคใส่กุญแจ และแขวนป้ายก่อนที่จะเข้าไปทำงานในบริเวณนั้น วาวล์หรือท่อ ทำให้เกิดอันตราย ถ้ามีก๊าซ หรือของเหลวไหลผ่านอาจทำให้เกิดการระเบิด จมน้ำ เกิดพิษ หรือ น้ำร้อนลวก ฯลฯ การถูกดูดจมจะเกิดที่ไซโลที่เก็บเมล็ดพืชผล การขึ้นไปเดินบนเมล็ดพืชผลนั้น อาจทำให้ล้มลงและดูดจมลงไปในเมล็ดพืชผลนั้น เกิดการขาดอากาศหายใจ เสียงดัง ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร หรือถึงแม้จะเป็นการชั่วคราวก็จะทำให้ไม่สามารถได้ยินเสียงที่จะบอกทิศทางที่สำคัญ หรือการระวังอันตราย ตกจากที่สูง ในสถานที่อับอากาศ เมื่อมีปริมาณออกซิเจน หรือก๊าซพิษ คนทำงานเกิดอาการขาดออกซิเจน เกิดพิษหรือการแกว่างไปมาของบันไดที่ใช้ปีนทำงานแล้วตกลงสู่เบื้องล่าง ไฟฟ้าดูดขณะทำงานอาจพลาดไปจับส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟรั่วไหลเกิดการดูดช็อต ความร้อน สามารถเกิดได้รวดเร็วในสถานที่อับอากาศ ทำให้เกิดการเสียเหงื่อมากจนถึงขั้นวิงเวียนหน้ามืด (Heat Stroke) ได้ แสงจ้า มีการทำงานในสถานที่อับอากาศโดยมีการเชื่อมโลหะ ถ้ามองดูแสงจ้านั้นด้วยตาเปล่าจะเกิดอันตรายกับดวงตา
หลักปฏิบัติเมื่อทำงานในสถานที่อับอากาศ
- เพื่อความปลอดภัยสำหรับการทำงานในสถานที่อับอากาศ นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามรายละเอียดต่อไปนี้ ก่อนอนุญาตให้ลูกจ้างปฎิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ต้องมีการตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมีและสิ่งปนเปื้อนในสถานที่อับอากาศว่าจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจน การระเบิดและการเป็นพิษหรือไม่ และเก็บบันทึกผลการตรวจไว้ให้เจ้าหน้าที่แรงงานสามารถตรวจสอบได้
- ให้ทำการระบายอากาศให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ถ้าตรวจสอบพบว่ามีปริมาณออกซิเจน ต่ำกว่าร้อยละ 19.5 โดยปริมาตร หรือสารเคมีที่ติดไฟได้ในปริมาณเข้มข้นกว่าร้อยละ 20 ของความเข้มข้นต่ำสุด ที่จะติดไฟหรือระเบิดได้ หรือสารเคมีอื่นๆ ที่อยู่ในระดับเกินกว่าค่าความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย
- นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์ช่วยหายใจ เข็มขัดนิรภัย สายชูชีพ และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานตามมาตรฐานกรมแรงงานยอมรับให้ลูกจ้างใช้
- ต้องจัดให้มีใบอนุญาต ให้ลูกจ้างเข้าทำงานในที่อับอากาศทุกครั้ง ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
ข้อกำหนดที่นายจ้างต้องปฏิบัติระหว่างที่อนุญาตให้มีการทำงานในสถานที่อับอากาศ
- ต้องตรวจสอบสภาพอากาศเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้เกินมาตรฐาน ต้องขจัดหรือระบายอากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
- จัดให้มีคนช่วยเหลือ หรือผู้ที่ผ่านการอบรมช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัย คอยดูแล และเฝ้าที่ปากทางเข้า - ออก สถานที่อับอากาศ ตลอดเวลาและสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานที่อับอากาศได้ พร้อมมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่เหมาะสม ตามลักษณะของงาน และคอยให้ความช่วยเหลือลูกจ้างได้ทันทีตลอดเวลาการทำงาน
- อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบที่ใช้ในสถานที่อับอากาศ ต้องเป็นชนิดที่สามารถป้องกัน ความร้อน ฝุ่น การระเบิด การลุกไหม้ และไฟฟ้าลัดวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องจัดให้มีการเดินสายไฟฟ้าในสถานที่อับอากาศด้วยวิธีที่ปลอดภัย
- นายจ้างต้องจัดให้มีผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เช่น วางแผนปฏิบัติงาน และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และอบรมสอนงาน ควบคุมดูแลให้ ลูกจ้างใช้ตรวจตรา เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงาน
- ให้นายจ้างกำหนดข้อห้าม และควบคุมต่างๆ เช่น ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามก่อไฟ ห้ามคนไม่เกี่ยวข้องเข้าไป ถ้าเป็นช่องโพรง ต้องปิดกั้นไม่ให้คนตกลงไป และจัดให้มีป้ายแจ้งข้อความ "บริเวณอันตรายห้ามเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต" ปิดประกาศไว้ในบริเวณสถานที่อับอากาศซึ่งมองเห็นชัดอยู่ตลอดเวลา
วิทยากร : วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
วิธีการอบรม : การบรรยาย กรณีศึกษา (Workshop)
ผู้เข้าร่วมอบรม: ผู้บควบคุมดูแลงาน ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน
ระยะเวลา : 2 วัน (เวลา 09.00 – 16.00 น.)
สถานที่อบรม : ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งภาคตะวันออก (HRD ESIE CENTER) จ.ชลบุรี
สิ่งที่ได้รับหลังผ่านการอบรม
เมื่อมาอบรมกับเราท่านจะได้รับ ใบประกาศวุฒิบัตรผ่านการอบรมหรือใบเซอร์ อย่างเป็นทางการ 1 ฉบับ/ท่าน |
ภาพบรรยากาศการอบรม
** ท่านที่อบรมหลักสูตร Forklift, บนที่สูง, นั่งร้าน, ปั้นจั่น, ที่อับอากาศ
ทางศูนย์อบรมของเรามีบัตรประจำตัวสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรม
ให้ผู้ใช้บริการอบรมกับทางศูนย์ของเราค่ะ**
สถาบันฝึกอบรม Safetyinthai
ได้รับอนุญาตจาก
เอกสารรับรอง
บริษัท ท๊อป โปรเฟสชั่นแนล แอนด์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด
ได้รับการขึ้นทะเบียน ให้เป็นหน่วยงานฝึกอบรม จากกรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานกระทรวงแรงงาน |
อย่าลืม!!! เป็นเพื่อนกับเราใน
เพื่อติดตามการแจ้งข่าวสาร และโปรโมชั่นอัพเดทใหม่ๆจาก
บริษัท ท๊อป โปรเฟสชั่นแนล แอนด์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด
รวมถึงการปรึกษาหรือสอบถามราคา ท่านสามารถเพิ่มเพื่อนกับเราได้เลยค่ะ ยินดีให้บริการค่ะ
เรามีบริการอาหารกลางวันและขนมเบรคให้ผู้เข้าอบรม
บริการดี อาหารอร่อย เมนูอาหารหลากหลาย กับบรรยากาศที่ดูสบายตาเหมือนได้มาพักผ่อน พร้อมเจ้าหน้าที่
ยินดีให้บริการตลอดรับบริการให้เช่าสถานที่ อบรม-สัมมนา ประชุม, งานมงคล อื่นๆ
ลูกค้าบางส่วนของเรา
ขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่ไว้วางใจและเลือกใช้บริการอบรมกับเรา
มากกว่าหลายบริษัทชั้นนำ