กฎหมายความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานกับไฟฟ้า

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า สําหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

อาศัยอํานาจตามความในข้อ แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า .. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

หมวด บททั่วไป

ข้อ การจัดฝึกอบรมให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเข้ารับการฝึกอบรมความปลอดภัย ในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า นายจ้างต้องดําเนินการตามประกาศนี้

ในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาต จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ดําเนินการ

ให้นายจ้างจัดทําทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรมพร้อมรายชื่อ วิทยากรเก็บไว้ สถานประกอบกิจการหรือสํานักงานของนายจ้างพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัย ตรวจสอบได้ตลอดเวลา และให้แจ้งทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรมพร้อม รายชื่อวิทยากรต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้น การฝึกอบรม

หมวด การฝึกอบรม

ข้อ การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า ต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง และอย่างน้อยต้องมีหัวข้อวิชา ดังต่อไปนี้

() กฎหมายความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า () สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล () การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงจากลักษณะงานอื่นรวมอยู่ด้วย

เช่น การทํางานในที่สูง การทํางานในบริเวณที่อาจเป็นอันตราย นายจ้างอาจจัดให้มีระยะเวลา การฝึกอบรมและหัวข้อวิชาที่เกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มเติมจากหัวข้อวิชาที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง

    

หน้า ๑๒เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๕๑ ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘

ข้อ การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า ผู้จัดฝึกอบรมต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้

() จัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินหกสิบคน และมีวิทยากร อย่างน้อยหนึ่งคน

() จัดใหผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตามหัวข้อวิชาการฝึกอบรมที่กําหนด () จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ () ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม

หมวด วิทยากรฝึกอบรม

ข้อ วิทยากรผู้ทําการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

() มีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า หรือเทียบเท่า และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร รวมทั้งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากร บรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ

() มีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้าหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าไม่น้อยกว่าสามปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อ

เนื่องไม่น้อยกว่าสามปี หรือ

() เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ รวมทั้งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับไฟฟ้าไม่น้อยกว่าสามปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าสามปี หรือ

() เป็นลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าในสถานประกอบกิจการ รวมทั้งมีประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชา ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าห้าปี หรือ

() เป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีคุณสมบัติในด้านคุณวุฒิ การศึกษา รวมทั้งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานตาม () () หรือ () และมีประสบการณ์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

ประกาศ วันที่ ๒๔ ธันวาคม .. ๒๕๕๘ พรรณี ศรียุทธศักดิ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

 

Visitors: 1,138,154