ผู้รับเหมา ต้องอบรมจป.หัวหน้างาน

           

เตือน! ผู้รับเหมาต้องอบรมจป.

อ้างอิงจากพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔

 


 

         

                    มาตรา ๔ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับ

          ความยินยอมให้ทํางานหรือทําผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการของนายจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม

 

หมวด ๑

บททั่วไป

          

                    มาตรา ๖ ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทํางานและสภาพแวดล้อม

          ในการทํางานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต

          ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัยให้ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดําเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย

          อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

 

 

                    มาตรา ๑๔ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมในการทํางานที่อาจ

          ทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะ

          เกิดขึ้นจากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน

 

 

                    มาตรา ๑๖ ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย

          และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม

          ในการทํางานได้อย่างปลอดภัยในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลง

          เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มี

          การฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทํางานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ 

          และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

 

 

                    มาตรา ๒๑ ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตาม

          มาตรา ๘ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัยโดยคํานึงถึงสภาพของงานและพื้นที่

          ที่รับผิดชอบ

 

                    ในกรณีที่ลูกจ้างทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหาย และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองให้แจ้ง

          ต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน

          หรือผู้บริหารแจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า

 

                    ในกรณีที่หัวหน้างานทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหายซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตราย

          ต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยต้องดําเนินการป้องกันอันตรายนั้นภายในขอบเขตที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับ

          มอบหมายทันทีที่ทราบ กรณีไม่อาจดําเนินการได้ ให้แจ้งผู้บริหารหรือนายจ้างดําเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า

 

 

หมวด ๘ 

บทกําหนดโทษ

 

มาตรา ๕๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๓๔ 

ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าหมื่นบาท


 

มาตรา ๖๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษจําคุก 

ไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ


Visitors: 1,139,985